รายละเอียดวิชา

การพัฒนาหลักสูตร


ความหมาย
         
สงัด อุทรานันท์ และเซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander)ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า “ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2ลักษณะ คือ
     -การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
     -การทำให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย

ทาบา (Taba)  ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด  ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ  และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  Ornstein and Hunkins
“การพัฒนา” อธิบายถึงกระบวนการหรือขั้นตอนของการทำหลักสูตร
“การออกแบบ” อธิบายถึงผลลัพธ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการพัฒนาหลักสูตร

กู๊ด (Good) ให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่

สรุป การพัฒนาหลักสูตรสามารถอธิบายได้ในสองความหมาย ดังนี้
1. การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เรียกว่า  “การปรับปรุงหลักสูตร”
2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่เลย คำศัพท์ที่มีความใกล้เคียงกับการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่  การออกแบบหลักสูตร การสร้างหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การจัดหลักสูตร การจัดการหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร และ การปรับปรุงหลักสูตร




ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์



สาเหตุที่ต้องพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญ ดังนี้
     1. เมื่อวิทยาการต่างๆของสังคมและของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป      
     2. เมื่อนโยบาย ปรัชญา และแนวทางการพัฒนาการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป
     3. เมื่อผู้ใช้หลักสูตรอันได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองเรียกร้อง
     4. เมื่อข้อมูลพื้นฐานของสังคมและชุมชนเปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปหลักสูตรจะครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่างๆ คือ

     1. ผลการเรียนรู้ (Learning Outcome) ซึ่งนิยมเรียกว่า มาตรฐานคุณภาพ (Quality Standards) หรือ
ที่เราคุ้นเคยว่า จุดประสงค์การเรียนรู้
     2. ขอบข่ายเนื้อหาวิชา (Content) ที่อาจเรียกว่าองค์ความรู้ (Body of Knowledge)
     3. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Learning Activities) ที่เราคุ้นเคยในชื่อแผนการสอน หรือ
กระบวนการ เรียนรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดที่ครูจะคิดค้นกระบวนการที่ดีที่สุด (Best Practice)
เพื่อรับประกันว่าผู้เรียนทุกคนจะบรรลุผลการเรียนรู้ได้ครบถ้วน กำหนดให้จัดหลักสูตรการศึกษาในส่วนสาระหลักที่เป็นแกนกลางของการศึกษาพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อ การดำรงชีวิต ความเป็นคนไทย และความเป็นพลเมืองดีของชาติ ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญา ท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม
     4. แผนการใช้สื่อการเรียนการสอน (Learning Materials)
     5. แผนการวัดผลประเมินผล (Assessment) เพื่อแสดงหลักฐานการบรรลุผลการเรียนรู้ โดยหลักการที่
เป็นสากล หลักสูตรที่แท้จริง คือ สิ่งที่ครูและปฏิบัติในโรงเรียนในองค์ประกอบ 5 ประกอบนี้ ความเป็นหลักสูตรจะหยุดอยู่ที่การคิด กำหนดเป็นแผนดำเนินงานใน 5 องค์ประกอบนี้ เมื่อใดที่ครูลงมือจัดการเรียนการสอน จะเรียกว่าการนำหลักสูตรไปใช้ (Implementation) ซึ่งมักตามมาด้วยการประเมินผลการใช้สูตร (Evaluation) เพื่อให้มีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) สู่การปรับปรุงหลักสูตรใน 5 องค์ประกอบและปรับปรุงการนำหลักสูตรไปใช้

โดยเนื้อหาในบล็อกนี้ได้นำเสนอเนื้อหาดังต่อไปนี้

     - กลุ่มสาระที่ 1 :ภาษาและการสื่่อสาร
     - กลุ่มสาระที่ 2 :ภาษาและวัฒนธรรม
     - กลุ่มสาระที่ 3 :ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระอื่น
     - กลุ่มสาระที่ 4 :ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น